บ้านโฮมฮัก

วันศุกร์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2555

ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน

พันธกิจ (Mission)
• ให้บริการด้านสุขภาพระดับปฐมภูมิ  ทุติยภูมิ และตติยภูมิอย่างมีมาตรฐาน
• พัฒนาให้มีศูนย์บริการการแพทย์เฉพาะทางด้านอุบัติเหตุ
ยุทธศาสตร์พัฒนาความสามารถของโรงพยาบาล
Hospital strategies
    1. ยุทธศาสตร์พัฒนาคุณภาพการบริการ และการรักษาพยาบาล
    2. ยุทธศาสตร์พัฒนาบริการปฐมภูมิ และสร้างความเข้มแข็งด้านสุขภาพของประชาชน,ชุมชน
    3. ยุทธศาสตร์พัฒนาความสามารถของโรงพยาบาลด้านทุติยภูมิ ,ตติยภูมิ และศูนย์บริการการ แพทย์เฉพาะทาง(Center of Excellence)
    4. ยุทธศาสตร์เพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของระบบการบริหารจัดการ
    5. ยุทธศาสตร์พัฒนาการเรียนรู้และส่งเสริมนวัตกรรม

    เจตจำนง

    มุ่งให้บริการผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุ และ ผู้ป่วยฉุกเฉิน รวดเร็ว  ปลอดภัย  ถูกต้องตามมาตรฐาน
    • พัฒนาการเป็นศูนย์อุบัติเหตุ (center of excellence)

    หน้าที่และขอบเขตบริการ

      1. ให้บริการผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุ  ผู้ป่วยฉุกเฉิน
      2. ให้บริการผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุ  ผู้ป่วยฉุกเฉิน  ณ. จุดเกิดเหตุในเขตอำเภอเมือง  จังหวัด  นครปฐม
      3. เป็นศูนย์รับการส่งต่อระดับตติยภูมิ ทางด้านอุบัติเหตุ
    เป้าหมายของหน่วยงาน
    • ให้ผู้รับบริการได้รับการบริการที่รวดเร็วถูกต้อง ปลอดภัย และพึงพอใจ
    • เป็นศูนย์อุบัติเหตุ (center of excellence) ที่ได้มาตรฐาน
    ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน
    (Emergency  Medical  Services  System - EMSS)
    หมายถึง ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินภายนอกโรงพยาบาล ซึ่งประกอบด้วย
    • บุคลากร
    • เครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์
    • ยานพาหนะ
    • ระบบแจ้งเหตุ
    • ระบบการประสานงาน
    • สถานพยาบาล
    • ระบบส่งต่อ
    การบริการการแพทย์ฉุกเฉิน
    Emergency Medical Services (EMS)
    หมายถึง  การให้บริการรักษาพยาบาลผู้เจ็บป่วยฉุกเฉิน    จุดเกิดเหตุ โดย
    • มีบุคลากรที่มีความรู้ออกปฏิบัติการพร้อมรถพยาบาลที่มีเครื่องมือ ในการรักษาพยาบาลขั้นพื้นฐานและขั้นสูง  หลังการรักษาแล้ว มีการนำส่ง รพ.
    โดยมีการประสานงานอย่างเป็นระบบ
    • กิจกรรมทั้งหมดอยู่ภายใต้การกำกับของแพทย์
    • ให้บริการ  24  ชั่วโมง
    ผู้ประสบเหตุที่ให้การช่วยเหลือขั้นพื้นฐาน
    (First Responder)
    หมายถึง ผู้ช่วยเหลือทั่วไปที่ผ่านการอบรมจากหน่วยงาน ที่ได้มาตรฐานและตั้งขึ้นอย่างถูกต้อง เพื่อ
    ให้การช่วยเหลือเบื้องต้นแก่ผู้เจ็บป่วยฉุกเฉิน เช่น  อาสาสมัคร  มูลนิธิ   ตำรวจ  ประชาชน
      บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ประสบเหตุที่ให้การช่วยเหลือขั้นพื้นฐาน
    (1)   คำนึงถึงความปลอดภัยของตนเองและผู้ป่วย
    (2)   ประเมินภาวะคุกคามชีวิต
    (3)   ป้องกันภาวะคุกคามชีวิตและการบาดเจ็บเพิ่ม
    (4)   บันทึกข้อมูลต่าง ๆ ของผู้ป่วย
    (5)   ประสานงานกับผู้ที่เกี่ยวข้อง
    (6)   ดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินขณะรอการช่วยเหลือจากหน่วยบริการทางการแพทย์
      การทำหน้าที่พลเมืองดี เข้าไปช่วยเหลือผู้เจ็บป่วยฉุกเฉิน  จะต้องมีความซื่อสัตย์   ไม่ลักขโมยสิ่งของจากผู้ประสบภัย ไม่ว่าจะเป็น
      เครื่องประดับเงิน หรือทรัพย์สมบัติต่างๆ
     การรับแจ้งเหตุ
    1)   แนะนำตนเอง และหน่วยงาน
    (2)   ซักถามข้อมูล ในเรื่อง
    • สถานที่เกิดเหตุ
    • เกิดเหตุอะไร มีผู้บาดเจ็บกี่คน
    • เพศ อายุ ของผู้บาดเจ็บ และอาการของแต่ละคน
    • มีผู้ช่วยเหลือเบื้องต้นหรือยัง
    • ชื่อผู้แจ้ง หรือ ผู้ให้การช่วยเหลือ และ
    • เบอร์โทรศัพท์ที่สามารถติดต่อกลับ
    การแจ้งขอความช่วยเหลือ
    เบอร์โทรศัพท์ฉุกเฉิน เช่น  1669,  191 หรือเบอร์โทรศัพท์ของ รพ. ที่ใกล้ ที่เกิดเหตุแจ้งข้อมูลดังนี้
    (1)  เกิดเหตุอะไร มีผู้บาดเจ็บกี่คน แต่ละคนมีอาการอย่างไร
    (2)  สถานที่เกิดเหตุ
    (3)  ให้การช่วยเหลือเบื้องต้นอย่างไร
    (4)  ชื่อผู้แจ้งที่ขอความช่วยเหลือ เบอร์โทรศัพท์ที่สามารถติดต่อกลับได้
    (5)  ให้การช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ   จนกว่าบุคลากรทางการแพทย์จะมาถึงที่เกิดเหตุ
      หลักการในการส่งต่อผู้ป่วยมา ร.พ.
    โทร.แจ้งล่วงหน้า
    ป้องกันกระดูกสันหลังส่วนคอ
     เมื่อไม่แน่ใจอาจโทร.ปรึกษา
    นำส่ง ร.พ.ที่เหมาะสมและใกล้ที่สุด
    เกณฑ์ในการพิจารณาขั้นที่1
     ผู้ป่วยหมดสติ
     ความดันโลหิตต่ำกว่า 90 ม.ม. ปรอท
     หายใจต่ำกว่า 10 หรือมากว่า 29
    เกณฑ์ในการพิจารณาขั้นที่2
     มีภาวะอกรวน
     มีกระดูกแขน ขาหัก หรือกระดูกเชิงกรานหัก
     มีแขน หรือขาขาด
     ถูกยิง หรือแทงเข้าช่องอก ท้อง หรือ ศีรษะขยับแขน ขาไม่ได้
     มีอุบัติเหตุร่วมกับไฟไหม้
    เกณฑ์ในการพิจารณาขั้นที่3
     กระเด็นออกนอกรถ
     มีผู้โดยสารในคันเดียวกันเสียชีวิต
     ชนด้วยความเร็วสูง (รถ 64 กม/ชม,MC 32 กม/ชม)
    • รถยุบมากกว่า 50ซม หรือเข้าห้องโดยสาร > 30 ซม
     รถพลิกคว่ำ
     ตกจากที่สูงกว่า 6 เมตร
    เกณฑ์ในการพิจารณาขั้นที่4
    • อายุน้อยกว่า 5 หรือมากกว่า 55 ปี
     ตั้งครรภ์
     มีโรคหัวใจ, เบาหวาน หรือโรคปอด
     อ้วนมาก
     เลือดแข็งตัวช้า
    เกณฑ์ในการพิจารณา
     กรณีไม่แน่ใจให้ส่งศูนย์อุบัติเหตุ

การแพทย์ฉุกเฉิน

ระบบบริการการแพทย์การแพทย์ฉุกเฉินจังหวัดภูเก็ต มีเครือข่ายโรงพยาบาล 6 แห่ง
ร่วมปฏิบัติงานการแพทย์ฉุกเฉินทั้งภาครัฐและเอกชน มูลนิธิ 2 แห่ง ศูนย์ช่วยเหลือนักท่องเที่ยวจัดตั้ง
โดยองค์กรบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต ซึ่งมีเรือเร็วสามารถออกปฏิบัติงานได้เมื่อมีนักท่องเที่ยว หรือประชาชนประสบอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วยฉุกเฉิน โดยร่วมกับหน่วยปฏิบัติการกู้ชีพโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 11 แห่ง รวมทั้งสิ้นมีหน่วยให้บริการจำนวน 20 หน่วย แยกเป็น หน่วย ALS 6
หน่วย, BLS 3 หน่วย และ FR 11 หน่วย มีศูนย์รับแจ้งเหตุ และสั่งการตั้งอยู่ที่ โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต โดยมีพยาบาลวิชาชีพเป็นหัวหน้าศูนย์ และมีแพทย์รับปรึกษา ตลอด 24 ชั่วโมง สามารถประสานงานขอควานช่วยเหลือกับกองเรือภาคที่ 3 และหน่วยบินตำรวจ ในการขอใช้ยานพาหนะพิเศษ เฮลิคอปเตอร์ เพื่อลำเลียง เคลื่อนย้าย ผู้เจ็บป่วยฉุกเฉินเมื่อมีเหตุร้องขอความช่วยเหลือพื้นที่ห่างไกล ทุรกันดาร เช่นในทะเล และตามเกาะต่างๆ โดยร่วมกับหน่วยกู้ชีพโรงพยาบาลวชิระภูเก็ตเพื่อออกปฏิบัติการช่วยเหลือ สำนักงานระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินจังหวัดภูเก็ต
ตั้งอยู่ที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต รับผิดชอบด้านการพัฒนาระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินจังหวัดภูเก็ต ด้านการประชาสัมพันธ์จัดทำป้ายติดตั้งบริเวณทางแยก ถนนสายหลัก ผลิตพวงกุญแจ สติกเกอร์ การ์ดนามบัตรไม้บรรทัด หมายเลข 1669 ให้ประชาชนรับทราบ และเรียกใช้บริการเมื่อมีเหตุจำเป็น จัดการอบรมให้ความรู้เรื่องอุบัติเหตุ
และการช่วยเหลือผู้บาดเจ็บแก่ประชาชนทั่วไป แกนนำชุมชน อป.พร. และนักเรียน นักศึกษา